แนะนำปั๊มไดอะแฟรม รุ่น Double Diaphragm Non-Metallic 1/4 Made of PP จาก Lutz ปั๊มอุตสาหกรรมที่สูบถ่ายของเหลวได้หลากหลาย
Diaphragm Pump วันนี้ขอแนะนำให้รู้จัก Air-Operated Double Diaphragm (AODD) ซึ่งแปลได้ว่าเป็นปั๊มที่ใช้ลมในการทำงาน โดยใช้ไดอะแฟรมสองอัน
ปั๊มประเภทนี้เป็นปั๊มสำหรับสูบจ่ายของเหลวที่มีความหนืด มีลักษณะการทำงานแบบบีบ-อัดเป็นจังหวะ และขับเคลื่อนด้วยแรงดันลม จึงทำให้สามารถนำปั๊มไดอะแฟรมไปใช้ในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดประกายไฟได้ (Explosion Proof) ซึ่งเป็นเป็นข้อดีของปั๊มไดอะแฟรมที่แตกต่างจากปั๊มเคมีอื่น ๆ
ส่วนประกอบสำคัญของปั๊มไดอะแฟรมคือแผ่นไดอะแฟรม โดยภายในปั๊มประกอบด้วยแผ่นไดอะแฟรม 2 แผ่น ผลัดกันผลักไปกลับด้วยแรงกดในช่องอากาศ ไดอะแฟรมฝั่งนึงจะถูกดึงเข้าสู่แกนกลาง ส่งผลให้ของเหลวถูกดูดเข้าในตัวปั๊ม ไดอะแฟรมอีกฝั่งถูกผลักออกส่งผลให้ของเหลวที่อยู่ในปั๊มถูกดันออกไปสู่ท่อออก นอกจากแผ่นไดอะแฟรมแล้ว ยังมีส่วนประกอบอื่น ๆ ด้วย เช่น บอลวาล์ว ซีทวาล์ว ที่มีไว้เพื่อกำหนดการไหลของของเหลว ซึ่งต้องสัมผัสกับของเหลวโดยตรง ฉะนั้นวัสดุของส่วนประกอบเหล่านี้ต้องเลือกให้เหมาะกับการใช้งานได้ด้วย
ปั๊มไดอะแฟรม รุ่น Double Diaphragm Non-Metallic 1/4 Made of PP จาก Lutz จึงเป็นปั๊มอุตสาหกรรมอีกหนึ่งตัวที่สามารถสูบถ่ายของเหลวได้หลากหลายประเภท
สำหรับการใช้งานของปั๊มไดอะแฟรมในรุ่นนี้ สามารถใช้ได้กับ
- น้ำมันที่มีความหนืด เช่น น้ำมันหล่อลื่น, น้ำมันไฮโดรลิค
- น้ำมันเชื้อเพลิง เช่น น้ำมันดีเซล, เบนซิน, น้ำมันก๊าด
- ตัวทำละลาย (Solvent) เช่น Acetone, Toluene, Alcohol และอื่น ๆ
- สารเคมีจำพวกกรด-ด่าง เช่น สารเคมีในงานบำบัดน้ำ (Wasted Water Treatment) เช่น PAC, NaOCL (คลอรีนน้ำ)
- ของเหลวที่มีความหนืดสูง เช่น Glycerin, Resin, Polymer กาว
- ของเหลวที่มีตะกอนหรือแขวนลอยอยู่ เช่น ของเหลวในกระบวนการผลิตเซรามิกหรือเครื่องสุขภัณฑ์ (SLIP), ของเหลวใน กระบวนการผลิตกระดาษ เป็นต้น
จุดเด่น และข้อจำกัดของปั๊มไดอะแฟรม รุ่น Double Diaphragm Non-Metallic 1/4 Made of PP
สำหรับจุดเด่น และข้อจำกัดของปั๊มไดอะแฟรมที่ใช้ลมในการทำงาน หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าข้อดีที่มีมากมายแล้ว ก็ยังมีข้อจำกัดบางอย่างที่ต้องรู้ก่อนจะเลือกใช้งานด้วย
ข้อดีของปั๊มไดอะแฟรม (Diaphragm Pump)
- สามารถใช้งานในโซนที่มีความเสี่ยงสูงได้ เพราะทำงานด้วยระบบลม
- เมื่อแรงดันสมดุล ปั๊มไดอะแฟรมจะหยุดทำงานอัตโนมัติจึงไม่ต้องติดตั้งวาล์วระบายแรงดัน
- ตัวปั๊มสามารถดูดของเหลวได้เอง ด้วยระบบ Self-Priming
- ทำงานโดยไม่มีของเหลวได้
- ใช้ได้กับข้อเหลวที่มีความหนืดต่ำจนถึงความหนืดสูง
- ควมคุมปริมาณของเหลวที่ส่งออกจากตัวปั๊มได้อย่างมีประสิทธภาพ
- รองรับของแข็งหรือสิ่งแขวนลอยได้ดี
- โครงสร้างปั๊มไดอะแฟรมมีน้ำหนักเบาเมื่อเทียบกับปั๊มเคมีประเภทอื่น ๆ ซึ่งทำให้ง่ายต่อการติดตั้ง และเคลื่อนย้าย
ข้อจำกัดของปั๊มไดอะแฟรม (Diaphragm Pump)
- การทำงานเป็นจังหวะ ทำให้การส่งของเหลวมีแรงกระเพือม
- มีเสียงดังสำหรับสำหรับปั๊มตัวใหญ่
การทำงานของปั๊มไดอะแฟรม (Diaphragm Pump) แตกต่างจากปั๊มอุตสาหกรรมประเภทอื่นอย่างไร
Diaphragm Pump หลักการทํางานเป็นอย่างไร ?
ปั๊มไดอะแฟรมเป็นปั๊มที่สูบของเหลวโดยใช้แรงลม โดยใช้หลักการการแทนที่ของเหลวในห้องปั๊มของแต่ละด้าน จากการยุบตัวสลับไปมาของแผ่นไดอะแฟรม ทั้งห้องซ้าย ( A ) และห้องขวา ( B ) ของปั๊มจะทำหน้าที่ทั้งดูดของเหลวเข้า และปล่อยของเหลวออก สลับกันไปตามลักษณะการกั้นห้องของแผ่นไดอะแฟรม หากเป็นการอธิบายโดยละเอียดจะเริ่มจาก
- การส่งถ่ายแรงแบบอัด โดยจุดเริ่มต้นของแรงส่งมาจาก Air Pressure หรือ Motor แล้วแต่ระบบการทำงานภายในของแต่ละรุ่น จากนั้นแรงจะผ่านชุดส่งกำลังทำให้ลูกสูบเคลื่อนที่
- การทำงานด้านจ่าย แผ่นไดอะแฟรมทำการเคลื่อนที่ จะไปดันของเหลวให้เกิดการอัดตัวขึ้น โดยเช็ควาล์วขาดูดอยู่ตำแหน่งปิด และเช็ควาล์วขาส่งอยู่ตำแหน่งเปิดเพื่อสร้างแรงดัน
- การทำงานด้านดูด แผ่นไดอะแฟรมเคลื่อนที่กลับ และของเหลวจะถูกดูดเข้ามาด้านในห้องแรงดัน โดยเช็ควาล์วขาดูดอยู่ในตำแหน่งเปิด และเช็ควาล์วขาส่งอยู่ในตำแหน่งปิดเพื่อสร้างแรงดูดเข้ามา และเป็นแบบนี้ซ้ำ ๆ เรียกว่า Cycle และเกิดเป็นความดันสูง และอัตราการไหล
ทั้งหมดนี้คือข้อมูลสำหรับปั๊มดับเบิลไดอะแฟรม และจุดเด่นของปั๊มรุ่น Double Diaphragm Non-Metallic 1/4 Made of PP จาก Lutz นอกจากนี้ ASSA INTERNATIONAL ก็ยังมีปั๊มอุตสาหกรรม และปั๊มเคมีคุณภาพจากแบรนด์ชั้นนำอีกหลากหลายประเภทให้คุณได้เลือกใช้งาน หากต้องการคำปรึกษาเพื่อการนำไปใช้งานให้ถูกต้องตามประเภทของอุตสาหกรรม สามารถถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ช่องทางด้านล่างได้เลย
- Hotline : 098-662-4587
- เบอร์โทรศัพท์ : 02-362-9183 ต่อ 4
- อีเมล : sales@assa.co.th
- แฟกซ์ : 02-362-9164
- Facebook : ASSA International