ปั๊มคืออะไร มีกี่ประเภท และมีวิธีบำรุงรักษาอย่างไร

ปั๊มอุตสาหกรรม

“ปั๊ม” ถือเป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับงานอุตสาหกรรม และการเลือกใช้ปั๊มที่ถูกต้องและมีคุณภาพก็มีส่วนช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ ในบทความนี้ ASSA INTERNATIONAL จึงรวบรวมความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับปั๊ม จากหลายแหล่งที่มา เพื่อตอบข้อสงสัยให้กับผู้สนใจ โดยมีรายละเอียดดังนี้ (ขอบคุณแหล่งที่มา Sugarprocesstech, Pumpfundamental, Wikipedia, Pump book)

“ปั๊ม” คืออะไร?

โดยทั่วไปเราอาจให้คำจำกัดความของ “ปั๊มหรือเครื่องสูบ” ได้ว่า เป็นเครื่องมือกลที่ทำหน้าที่นำพาของเหลว (ของเหลว หรือก๊าซ) จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้ตามความต้องการ โดยใช้กำลังขับเคลื่อนจากเครื่องยนต์ มอเตอร์ หรือพลังงานแหล่งอื่น ๆ ก็ได้

ปั๊มมีกี่ประเภท

ปัจจุบันมีการผลิตปั๊มออกจำหน่ายมากมาย และผู้ผลิตแต่ละเจ้าก็เรียกชื่อแตกต่างกันจนบางครั้งอาจทำให้เกิดความสับสน ดังนั้น จึงมีการจัดหมวดหมู่ขึ้น เพื่อให้สามารถแยกประเภทและเรียกชื่อได้ชัดเจน เราสามารถจำแนกประเภทของปั๊มได้โดยพิจารณาผ่าน 2 เกณฑ์หลัก ๆ ดังนี้

A. พิจารณาจากลักษณะการเพิ่มพลังงานให้แก่ของเหลว กับการไหลของของเหลวในปั๊ม

ปั๊มในหมวดการเพิ่มพลังให้กับของเหลว

  • Kinetic pump หรือ เซนตริฟูกอล (Centrifugal): เพิ่มพลังงานพลังให้กับของเหลว โดยอาศัยแรงเหวี่ยงหนีจุดศูนย์กลาง บางครั้งเรียกว่า Roto-dynamic

ปั๊มในหมวดการไหลของเหลวในปั๊ม

  • แบบพิเศษ (Special): เพิ่มพลังงานของเหลว โดยอาศัยกลไกอื่น ๆ

  • ประเภทโรตารี่ (Rotary): ของเหลวจะไหลผ่านช่องว่างระหว่างใบ และตัวเสื้อ โดย เรียกชื่อตามรูปร่างที่ต่างกันไป ตามภาพแสดงด้านล่าง

  • ประเภทลูกสูบชัก (Reciprocating): เป็นการอัดโดยตรงในกระบอกสูบ เพื่อส่งต่อของเหลว

B. พิจารณาจากลักษณะการขับดันของเหลวในเครื่องสูบ แบ่งปั๊มออกเป็น 2 ประเภท

1. ปั๊มแบบไม่แทนที่ (Non – Positive Displacement)

ทำงานโดยไม่อาศัยหลักการแทนที่ของเหลว ปกติใช้ในงานความดันต่ำอัตราการไหลสูง ไม่สามารถรับความดันสูง ๆ ได้ ซึ่งปั๊มประเภทอาศัยแรงเหวี่ยงหนีจุดศูนย์กลาง (Centrifugal) อาจจัดให้อยู่ในกลุ่มนี้ได้

2. ปั๊มแบบแทนที่ (Positive Displacement)

ทำงานโดยอาศัยหลักการแทนที่ของเหลวในห้องสูบด้วยการเคลื่อนที่ของชิ้นส่วนของเครื่องสูบ ปั๊มชนิดนี้จะจ่ายของไหลด้วยปริมาตรที่แน่นอนค่าหนึ่งต่อการหมุนรอบหนึ่งของเพลา สามารถรับความดันที่สูงขึ้นในระบบได้ดี ปั๊มประเภทนี้รวมแบบโรตารี่ (Rotary) และลูกสูบชัก (Reciprocal) เข้าอยู่ในกลุ่มเดียวกัน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การบำรุงรักษาปั๊มอุตสาหกรรม

เพื่อยืดอายุการใช้งานปั๊มอุตสาหกรรม วิศวกรหรือช่างผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องรู้วิธีการบำรุงรักษาที่ถูกต้อง ดังนี้

  • ตรวจสอบการทำงานของปั๊ม

สังเกตว่าแรงดันและปริมาณของเหลวลดลงหรือไม่ ซึ่งดูได้จากเกจวัดแรงดัน หรือมาตรวัดน้ำ และสังเกตว่าปั๊มทำงานผิดปกติหรือไม่ เช่น มีเสียงดังผิดปกติ หรือตัวปั๊มหยุดทำงานเป็นเวลานาน เป็นต้น

  • ตรวจสอบการรั่วไหล

ตรวจสอบการรั่วไหลที่ตัวปั๊มว่ามีการรั่วไหลหรือไม่ และ ถ้ามี รั่วไหลจากจุดใด รวมถึงตรวจสอบท่อ วาล์ว และบริเวณรอยต่อต่าง ๆ ว่ามีการรั่วไหลของของเหลวหรือไม่

  • ตรวจสอบการทำงานของมอเตอร์

ตรวจสอบกระแสไฟ ว่ามีการใช้กระแสไฟที่สูงขึ้นหรือไม่ และมีความผิดปกติหรือไม่ เช่น มีเสียงดัง, มอเตอร์หมุนผิดทาง, อุณหภูมิขึ้นสูง

  • ตรวจสอบการสั่น

สังเกตว่าปั๊มมีการสั่นเกินค่าที่กำหนดไว้หรือไม่

  • ทำความสะอาดอุปกรณ์

กรณีที่ใช้กับของเหลวที่มีการตกตะกอน ควรล้างทำความสะอาดหัวปั๊ม และส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น แผ่นไดอะแฟรม เป็นประจำตามตารางเวลาที่กำหนด

หากธุรกิจใดต้องการปั๊มอุตสาหกรรม ไว้ใจ ASSA INTERNATIONAL ตัวแทนจำหน่ายปั๊มอุตสาหกรรมจากแบรนด์ชั้นนำของญี่ปุ่นและอีกหลายประเทศทั่วโลก เราพร้อมสร้างความเชื่อมั่นด้วยบริการก่อนและหลังการขาย รวมถึงแนะนำวิธีการใช้งานและบำรุงรักษาปั๊ม เพื่อยืดอายุการใช้งาน และทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถดูแลการผลิตได้อย่างปลอดภัย

บริษัท แอสซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (สำนักงานใหญ่)
Hotline: 098-662-4587
Email: sales@assa.co.th

บทความที่น่าสนใจ

ลดต้นทุนได้ใคร ๆ ก็ชอบ! แนะนำเคล็ดลับประหยัดพลังงานสำหรับปั๊มอุตสาหกรรมเคมี

เคล็ดลับการประหยัดพลังงาน และช่วยลดต้นทุนให้กับบริษัทที่ใช้ปั๊มอุตสาหกรรม เริ่มตั้งแต่การเลือกขนาด ไปจนถึงการเลือกซื้อปั๊มเคมีที่ประหยัดพลังงาน

Read More »
5 เหตุผล ทำไมต้องเลือกปั๊มเคมี World Chemicals

5 เหตุผล ทำไมต้องเลือกปั๊มเคมี World Chemicals

แบรนด์ปั๊มอุตสาหกรรม World Chemical ที่คุ้นหูกัน รู้ไหมมีดีอย่างไรทุกคนถึงไว้ใจเลือกใช้ วันนี้ ASSA จะมาเปิดเผย 5 เหตุผลทำไมต้องเลือกปั๊มเคมีจาก World Chemical

Read More »
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า