ปั๊มอุตสาหกรรม คือ เครื่องมือกลที่ทำหน้าที่นำพาของเหลว (ของเหลว หรือก๊าซ) จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้ตามความต้องการและปั๊มในบางจุดมีความสำคัญต่อขั้นตอนการผลิตสินค้ามาก การเลือกสรรจึงจำเป็นต้องเลือกตามมาตรฐานทางวิศวกรรมที่ถูกต้อง ซึ่งในบทความนี้ ASSA INTERNATIONAL ได้รวบรวมหลัก 5 ข้อที่สำคัญในการเลือกปั๊มอุตสาหกรรม รายละเอียดจะเป็นอย่างไร มาติดตามไปพร้อม ๆ กัน
1. พิจารณาเงื่อนไขของของเหลวที่ต้องการสูบถ่าย (Liquid Condition)
เพื่อใช้ในการเลือกวัสดุ และประเภทของปั๊ม โดยพิจารณาเงื่อนไขต่าง ๆ ที่สำคัญดังต่อไปนี้
- ชื่อของเหลว (Liquid name) และ %ความเข้มข้น (%Concentrate)
- ค่าความหนาแน่น (Density)
- ค่าความถ่วงจำเพาะ (S.G.)
ความถ่วงจำเพาะ หรือ ถ.พ. คือ อัตราส่วนระหว่างความหนาแน่นของสสารนั้น ๆ ต่อความหนาแน่นของน้ำ หรือ ตัวเลขที่บ่งบอกว่า สารหรือวัตถุนั้นหนักเป็นกี่เท่าของน้ำ เมื่อมีปริมาตรเท่ากัน
อุณหภูมิ ณ จุดใช้งาน (Temp.) และอุณหภูมิสูงสุด (Max Temp.) - สิ่งเจือปนในของเหลว (Solids Containing) %และขนาดของสิ่งเจือปน
- ค่า pH หรือความเป็นกรดเป็นด่าง
- ความหนืด (Viscosity) ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ต้านทานการเคลื่อนที่ของของเหลว
2. พิจารณาอัตราการไหลในการสูบถ่ายของเหลว และระยะทางหรือแรงดันในการขนถ่าย (Pump operating condition)
เพื่อใช้ในการเลือกขนาดและกำลังของปั๊ม โดยพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ที่สำคัญดังต่อไปนี้
- ตราการไหล (Capacity or Flow rate) มีหน่วยเป็น ปริมาตรต่อหน่วยของเวลา m³/hr, L/S, L/min หรือ GPM.
- แรงดันในการส่งถ่าย (Discharge Pressure or Headloss) มีหน่วยเป็น เมตร หรือ บาร์ (m, ft, bar, psi, kg/cm²)
- NPSHa มีหน่วยเป็นเมตร โดยค่านี้สามารถหาได้จากการคำนวณ หรือใช้ตัวเลขที่ลูกค้ากำหนดมาให้
3. การเลือกวัสดุที่จะใช้ทำปั๊ม
การเลือกวัสดุสำหรับทำปั๊ม วัสดุแต่ละชนิดทนต่อของเหลวไม่เหมือนกัน ดังนั้นต้องพิจารณาจากตารางความทนเคมี (resistance chemical chart) ของผู้ผลิตนั้น ๆ หากไม่มีกำหนดไว้อาจเลือกโดยอ้างอิงจากวัสดุที่ใช้ทำปั๊มตัวเดิมของลูกค้า ซึ่งปั๊มเดิมนั้นจะต้องใช้งานได้ดี ทั้งนี้ แนะนำให้ปรึกษาผู้ผลิตปั๊มเพิ่มเติมด้วย
4. การเลือกขนาดของปั๊มจากกราฟ (Pump Curve)
หลังจากพิจารณาค่าที่สำคัญต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือการนำค่าที่ได้มาพิจารณาร่วมกับ Pump Curve เพื่อเลือกปั๊มให้เหมาะกับการใช้งาน โดยมีวิธีการดังนี้
- ควรเลือกให้อยู่ในช่วง BEP (Best Efficiency point)
1. ค่าอัตราการไหล Flow rate จะอยู่ในแกน X จะเป็น = (m³/hr) หรือค่าอื่น ๆ (ต้องแปลงให้เป็นหน่วยเดียวกันกับในกราฟ)
2. ค่าแรงดัน Discharge pressure หรือ ค่าระยะทางในการส่ง ที่ปั๊มทำได้ (Head) จะอยู่ในแกน Y - นำอัตราการไหลและค่าแรงดันมาตัดกันในกราฟ (Curve) ซึ่งอาจจะได้หลาย Model แนะนำให้เลือก Model ที่มีค่าประสิทธิภาพสูงสุด และขนาดมอเตอร์ ที่เหมาะสมที่สุด
- ต้องพิจารณาว่าค่า NPSHr เท่ากับเท่าไร โดยค่า NPSHa จะมากกว่า NPSHr เสมอ
5. การเลือกขนาดของมอเตอร์
ขั้นตอนสุดท้าย คือ การเลือกขนาดของมอเตอร์ ซึ่งจะได้การเลือกขนาดของปั๊มจากกราฟ หรือ จากการคำนวณ จากค่าต่าง ๆ ดังนี้
- ค่าอัตราการไหล (m³/hr)
- ระยะทางในการส่งถ่าย (m)
- ค่าความหนาแน่น kg/dm³ หรือค่า S.G.
- ประสิทธิภาพของปั้ม ณ.จุดใช้งาน (%)
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงหลักการเริ่มต้นในการเลือกปั๊มอุตสาหกรรม ยังมีขั้นตอนอีกมาก ซึ่งจำเป็นต้องกระทำโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งนี้ หากธุรกิจใดต้องการติดตั้งปั๊มอุตสาหกรรม ไว้ใจ ASSA INTERNATIONAL ตัวแทนนำเข้าปั๊มอุตสาหกรรมจากแบรนด์ชั้นนำของญี่ปุ่นและอีกหลายประเทศทั่วโลก เราพร้อมสร้างความเชื่อมั่นด้วยบริการก่อนและหลังการขาย รวมถึงแนะนำวิธีการใช้งานและบำรุงรักษาปั๊ม เพื่อยืดอายุการใช้งาน และทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถดูแลการผลิตได้อย่างปลอดภัย
บริษัท แอสซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (สำนักงานใหญ่)
Hotline: 098-662-4587
Email: sales@assa.co.th
——-