การตรวจเช็กปั๊มอุตสาหกรรม ซ่อมปั๊มโรงงาน ต้องทำอย่างไร?
การตรวจเช็กปั๊มในโรงงงานอย่างสม่ำเสมอ ถือเป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะหลายครั้งที่ปั๊มอุตสาหกรรม หรือปั๊มในโรงงาน ปั๊มเคมี มักแสดงอาการ แต่ผู้ใช้งานไม่ได้มีการตรวจเช็ก ไม่ว่าจะเป็น ปั๊มทำงานประสิทธิภาพลดต่ำลง หรือ มีอาการสั่นผิดปกติ หรือ มีเสียดัง ซึ่งทำให้เกิดปัญหาปั๊มชำรุดเสียหายโดยไม่ทราบสาเหตุ ปั๊มพัง หรือปั๊มอุตสาหกรรมไม่สามารถทำงานได้ ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสิ้นเปลืองพลังงาน และการทำงานต้องหยุดชะงักลง
ปัญหาของปั๊มอุตสาหกรรมที่พบได้บ่อย
การตรวจเช็กปั๊มอุตสาหกรรมเป็นประจำนอกจากจะช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นเมื่อปั๊มชำรุดแล้ว ยังช่วยให้สามารถแก้ไขปัญหาและซ่อมปั๊มได้อย่างทันท่วงที ซึ่งปัญหาของปั๊มอุตสาหกรรมที่อาจพบได้บ่อย เช่น
-
- ปั๊มสูบของเหลวไม่ขึ้น มักมีสาเหตุมาจากฝั่งดูดมีรอยรั่ว ซีลหรือประเก็นรั่วหรือฉีกขาด
- ปั๊มหยุดทำงานหรือแรงดันในการส่งของเหลวลดลง มักเกิดจากการที่มีอากาศเข้าบริเวณทางด้านดูด ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ใบพัดหรือชิ้นส่วนอื่น ๆ เริ่มสึกหรอ ใบพัดปั๊มอุดตัน รวมไปถึงสาเหตุจากการที่ปั๊มหมุนที่ความเร็วต่ำเกินไป ตัวกรองปั๊มเกิดการอุดตัน ซีลฉีกขาด หรือประเก็นปั๊มรั่ว เป็นต้น
- ปั๊มใช้กำลังมากกว่าปกติ มักเกิดจากการที่ใบพัดหมุนเร็วผิดปกติ ความดันขาออกต่ำหรือของเหลวที่สูบถ่ายมีความข้นหนืดจนเกินไป
- ปั๊มอุดตันบ่อย จากการที่ของเหลวที่สูบจ่ายเข้มหนืดเกินไปและมีอัตราการส่งของเหลวออกช้า รวมไปถึงวาล์วท่อดูดเกิดการอุดตัน
- ปั๊มมีเสียงดังมาก อาจเกิดจากใบพัดเสียหายหรืออุดตัน รวมถึงการติดตั้งเครื่องปั๊มที่ไม่ถูกวิธี มีฟองอากาศเกิดขึ้นในเส้นท่อ (ปรากฏการณ์ Cavitation) หรือ ตลับลูกปืนเสียหาย
- ตลับลูกปืนร้อนเกินไป เนื่องจากตลับลูกปืนมีอุณหภูมิสูงขึ้น ตลับลูกปืนการขาดการหล่อลื่นหรือหล่อลื่นน้อย การใช้งานปั๊มที่ไม่ถูกประเภท เป็นต้น
5 จุดสำคัญในการตรวจเช็กปั๊มอุตสาหกรรม
การหมั่นตรวจเช็กและการซ่อมบำรุงปั๊มอุตสาหกรรมจึงช่วยลดค่าใช้จ่ายและทำให้ปั๊มอุตสาหกรรมใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพและคุ้มค่าตลอดอายุการใช้งาน โดยควรตรวจเช็กตามจุดต่าง ๆ ของปั๊ม ดังนี้
- ท่อทางดูด (Suction Line)
การตรวจท่อทางดูดของปั๊มอุตสาหกรรม ปั๊มเคมี ประเภทต่าง ๆ ตรวจสอบการรั่วไหลของอากาศ โดยอาจใช้เกจวัดสุญญากาศเช็กว่าท่อดูด ข้อต่อ และจุกอุดท่อมีอากาศรั่วไหลเข้าไปหรือไม่ รวมถึงตรวจสอบการอุดตันในท่อ ว่ามีการอุดตันการไหลของของเหลวหรือไม่
- ปั๊ม (Pump)
ตรวจเช็กการรั่วซึมหรือการสึกหรอของปั๊มและส่วนประกอบต่าง ๆ โดยอาจตรวจดูภายนอกด้วยสายตาหรือใช้เครื่องมือช่วย เช่น การใช้ความดันลม หรือระบบการตรวจสอบการรั่วซึม เป็นต้น ซึ่งควรตรวจสอบทุก 3-6 เดือนหรือตามประเภทและการใช้งานของปั๊มอุตสาหกรรมนั้น ๆ โดยเฉพาะปั๊มเคมีที่ต้องใช้งานกับสารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อนหรือสารละลายบางประเภทที่อาจทำให้ชิ้นส่วนของปั๊มสึกหรอได้เร็ว
- ใบพัดของปั๊ม (Impeller)
เนื่องจากใบพัดปั๊มจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการสูบถ่ายของเหลว หากใบพัดหมุนเร็วผิดปกติ ใบพัดชำรุดเสียหาย ใบพัดหมุนไม่ได้ศูนย์ หรือระยะห่างระหว่างใบพัดกับเสื้อปั๊มหรือแผ่นกันสึกหรอ อยู่ใกล้กันหรือห่างกันมากเกินไป อาจส่งผลให้ปั๊มทำงานหนักมากกว่าปกติและเกิดเสียงดังได้
- ซีล (Seal)
ปั๊มอุตสาหกรรมหรือปั๊มโรงงานแบบมีซีลบางประเภท หากใช้งานกับของเหลวที่มีตะกอนอาจทำให้หน้าซีลสึกหรออย่างรวดเร็ว อาจทำให้อากาศรั่วไหลเข้าไปในท่อดูดและทำให้ปั๊มดูดถ่ายของเหลวไม่ได้ จึงควรหมั่นตรวจสอบการรั่ว การฉีกขาดหรือรอยขีดข่วนของซีล
- ตลับลูกปืน (Pump Bearings)
หากตลับลูกปืนสึกหรออาจทำให้เพลาสั่นคลอน ทำให้ปั๊มมีเสียงดังและอุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ปั๊มพังเสียหายได้ในที่สุด
หลักการตรวจเช็กปั๊มอุตสาหกรรม
เพื่อให้ปั๊มมีอายุการใช้งานยาวนานและคอยซ่อมปั๊มบ่อยครั้ง จึงควรมีการบันทึกประวัติการใช้งานและบำรุงรักษาปั๊ม ตลอดจนการจัดตารางเวลาสำหรับตรวจสอบและบำรุงรักษาปั๊มที่ชัดเจน โดยอาจแบ่งออกเป็นการตรวจเช็กออกเป็น 3 ระยะ คือ การตรวจเช็กปั๊มรายวัน รายเดือน และรายปี ดังนี้
การตรวจเช็กปั๊มอุตสาหกรรมรายวัน
- ตรวจสารหล่อลื่นลูกปืน (Bearing) มีไขหรือน้ำมันหล่อลื่นในห้องแบริ่งมากเกินไปหรือไม่ เพราะอาจทำให้มีการระบายความร้อนไม่ดีและทำให้มีอุณหภูมิสูง
- ตรวจความดันปั๊ม ทั้งในส่วนของท่อดูดและท่อจ่าย
- ตรวจซีล (Seal) เพื่อตรวจสอบการรั่วไหล
- ตรวจโหลด (Load) ของมอเตอร์ไฟฟ้าปั๊ม
- ตรวจระดับเสียงและการสั่นสะเทือนของปั๊ม
การตรวจเช็กปั๊มอุตสาหกรรมรายเดือน (ทุก 6 เดือน)
- ตรวจการทำงานของปั๊ม ระบบสูบ และตรวจสอบการระบายความร้อนของปั๊ม
- ตรวจการได้ศูนย์ระหว่างปั๊มและกำลังของปั๊ม
- ตรวจและทดสอบแรงดันปั๊มให้ตรงตามค่าที่กำหนด
- ตรวจความผิดปกติของปั๊ม เช่น ปั๊มเสียงดัง ปั๊มสั่นสะเทือน การรั่วซึม เป็นต้น
- ตรวจการติดตั้งปั๊ม รวมถึงสายไฟ ปลั๊กไฟและอุปกรณ์ต่าง ๆ ว่ายังคงมีการเชื่อมต่อและมั่นคงอยู่หรือไม่
- ตรวจความสะอาดของเครื่องปั๊ม
การตรวจเช็กปั๊มอุตสาหกรรมรายปี
- ตรวจสารหล่อเย็น หรือหล่อลื่น ที่ใช้ในระบบของปั๊ม เช่น น้ำมันหล่อเย็นและน้ำมันหล่อร้อน คุณสมบัติและความเข้มข้นของสารละลาย รวมถึงทำการเปลี่ยนสารละลายที่จำเป็น
- ตรวจและปรับแรงดันของปั๊มให้ตรงตามค่าที่กำหนด โดยใช้อุปกรณ์วัดแรงดันที่ถูกต้องและทำการปรับแรงดันตามค่าที่แนะนำของปั๊มแต่ละประเภท
- ตรวจและประเมินสภาพของชิ้นส่วนปั๊ม
- ตรวจการรั่วและการสึกหรอของปลอกเพลา
- ตรวจช่องว่างระหว่างใบพัดกับแหวนกันสึก
- ทำความสะอาดเพื่อล้างสารสกปรกและคราบตะกรันสะสมในปั๊ม
*หมายเหตุ รายละเอียดของวิธีการตรวจเช็กและการซ่อมบำรุงปั๊มอุตสาหกรรมจะแตกต่างกันออกไปตามชนิดของปั๊มและแบรนด์ผู้ผลิต จึงควรศึกษาจากคู่มือการใช้ปั๊มชนิดนั้น ๆ
ตรวจเช็กปั๊มอุตสาหกรรม ซ่อมปั๊มโรงงาน กับ ASSA INTERNATIONAL
การตรวจเช็กปั๊มอุตสาหกรรม การซ่อมบำรุงปั๊ม รวมไปถึงการติดตั้งปั๊มตั้งแต่การใช้งานครั้งแรกตลอดจนการติดตั้งหลังจากทำการซ่อมปั๊มควรทำตามขั้นตอนและวิธีที่ถูกต้อง นอกจากจะต้องปฏิบัติตามคู่มือการใช้งานปั๊มอย่างละเอียดแล้ว ยังควรให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ทำการตรวจเช็กและซ่อมปั๊ม เพื่อป้องการความเสียหายและสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด
ASSA INTERNATIONAL ตัวแทนจำหน่ายและนำเข้าปั๊มอุตสาหกรรมจากประเทศชั้นนำ พร้อมให้บริการหลังการขายตั้งแต่การตรวจเช็ก ติดตั้ง ซ่อมปั๊มอุตสาหกรรมโดยทีมวิศวกรและทีมช่างชำนาญการที่สามารถให้คำปรึกษาด้านการใช้งานปั๊มอย่างถูกวิธีและการแนะนำปั๊มที่เหมาะกับการใช้งานในแต่ละอุตสาหกรรม หรือหากต้องการซ่อมปั๊มอุตสาหกรรมกับทาง ASSA สามารถแจ้งความต้องการและนัดหมายล่วงหน้า โดยทีมวิศวกรและทีมงานจะทำการประเมินเบื้องต้นและจัดเตรียมอุปกรณ์เพื่อดำเนินการได้อย่างตรงจุด
ติดต่อนัดหมาย ขอใช้บริการซ่อมปั๊ม ขอคำปรึกษา รวมถึงติดต่อเพื่อสอบถามรายละเอียดอื่น ๆ สามารถติดต่อได้ตามช่องทางต่าง ๆ ดังนี้
- Hotline : 098-662-4587
- เบอร์โทรศัพท์ : 02-362-9183 ต่อ 4
- อีเมล : sales@assa.co.th
- แฟกซ์ : 02-362-9164
- Facebook : ASSA International