วิธีการดูแลรักษามอเตอร์ของปั๊มอุตสาหกรรมให้ใช้งานได้นาน

ปั๊มอุตสาหกรรม คือ เครื่องมือสำคัญสำหรับทุกอุตสาหกรรมที่ทำหน้าที่เพิ่มพลังงานแก่ของเหลว เพื่อกระบวนการการผลิตที่มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม ยังมีอุปกรณ์ชิ้นสำคัญที่ช่วยเสริมการทำงานของปั๊ม สร้างพลังงานกลในการช่วยขับเคลื่อนปั๊มให้สามารถดูดของเหลวได้ นั่นคือ “มอเตอร์ไฟฟ้า” และในบทความนี้ ASSA ขอแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับมอเตอร์ไฟฟ้า ทั้งสาเหตุของการชำรุด การดูแลรักษา ไปจนถึงการตรวจวัดค่าต่าง ๆ มาเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กันได้เลยครับ

สาเหตุหลักที่มอเตอร์ไฟฟ้าชำรุดในงานของปั๊ม

การที่มอเตอร์ปั๊มชำรุดนั้นส่วนใหญ่จะมีสาเหตุหลักมาจากความชื้น ซึ่งอาจเกิดจากสภาพแวดล้อมที่ทำการติดตั้ง ของเหลวในปั๊มรั่วซึม การซ่อมบำรุง หรือการทำความสะอาดฉีดน้ำอย่างไม่ระมัดระวังทำให้น้ำเข้ามอเตอร์ เป็นต้น โดยสามารถสรุปสาเหตุต่าง ๆ ได้ดังนี้

  1. สภาพแวดล้อมบริเวณที่ติดตั้งมอเตอร์ เช่น ไม่มีการยกฐานขึ้นให้สูงจากพื้นเมื่อมีฝนตกน้ำขัง อาจทำให้น้ำซึมเข้ามอเตอร์ได้
  2. ของเหลวหรือสารเคมีในหัวปั๊มรั่วไหลไปถึงส่วนของมอเตอร์
  3. การทำความสะอาดปั๊มและมอเตอร์โดยการฉีดน้ำ ทำให้น้ำมีโอกาสเข้ามอเตอร์
  4. มอเตอร์ไฟฟ้าไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานาน อาจมีความชื้นสะสมอยู่

การบำรุงรักษามอเตอร์ของปั๊มอุตสาหกรรม

การดูแลมอเตอร์ในขณะที่มอเตอร์ยังอยู่ในสภาพใช้งานได้จะมี 2 แนวทาง ดังนี้

1. Preventive Maintenance (PM)

หรือเรียกอีกอย่างว่าการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน โดยการบำรุงลักษณะนี้จะมีการตั้งเวลาชั่วโมงการทำงานและแต่ละค่าของชั่วโมงจะมีการเข้าทำ PM เช่น ตารางข้างล่างนี้ เป็นการป้องกันมอเตอร์จากการเกิดปัญหาได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น แต่ก็ยังมีผลเสียที่อาจเกิดขึ้นโดยทั่วไป อาทิ

  • แปรงถ่านอาจจะแตกหักก่อน 2,000 ชั่วโมง ทำให้เกิดการหยุดมอเตอร์ปั๊มก่อน 2,000 ชั่วโมง โดยไม่ได้วางแผนล่วงหน้า
  • แปรงถ่านยังคงใช้งานได้ดี และยังมีความยาวที่ยังใช้งานได้ แต่ต้องถูกเปลี่ยนทิ้งที่ 2,000 ชั่วโมง เมื่อถึงกำหนดเวลา
  • แบริ่งอาจจะเสียหายก่อน 10,000 ชั่วโมง
วิธีการดูแลรักษาปั๊มอุตสาหกรรม
ตัวอย่างการตั้งชั่วโมงทำงานและลักษณะการทำงาน PM

จะเห็นได้ว่าลักษณะการบำรุงรักษาเชิงป้องกันไว้ก่อนยังมีผลเสียเด่นชัด 2 ประการ คือ

  • เวลาหยุดมอเตอร์ (Shutdown) โดยไม่จำเป็นหรือไม่ได้วางแผนไว้ก่อน ในกรณีที่เวลาการทำ PM ยังมาไม่ถึง
  • เสียอะไหล่ (Spare parts) โดยไม่จำเป็นในกรณีที่เวลาการทำ PM มาถึง

2. Predictive maintenance

หรือการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ ซึ่งจะทำโดยการตั้งชั่วโมงการทำงานเพื่อเข้าตรวจสอบ และนำผลการตรวจสอบนี้ไปวิเคราะห์ดูแนวโน้มของปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อหาทางป้องกันความเสียหาย หรือเวลาหยุดของมอเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งสามารถสรุปได้เป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 กำหนดชั่วโมงทำงานเข้าตรวจสอบ

ยกตัวอย่าง เช่น

บำรุงรักษาปั๊ม

ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลจากขั้นตอนที่ 1 มาเก็บข้อมูล และวิเคราะห์โดยการเปรียบเทียบแนวโน้ม และเทียบกับค่ามาตรฐาน

ยกตัวอย่างเช่น

การดูแลมอเตอร์ปั๊มอุตสาหกรรม

จะเห็นว่าแนวโน้มของอุณหภูมิแบริ่งด้าน Drive ของมอเตอร์ A จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่อุณหภูมิแบริ่งด้าน Drive ของมอเตอร์ B ยังคงที่อยู่ จึงควรจะมีการหาสาเหตุการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิของมอเตอร์ A ว่าเกิดจากอะไร จากนั้นวางแผนหยุดและทำการแก้ไข ซึ่งการหยุดนี้ควรจะทำก่อนที่มอเตอร์จะเกิดความเสียหายมาก และควรทำโดยวางแผนไว้ก่อน เพื่อควบคุมให้เกิดความสูญเสียให้น้อยที่สุด

นอกจากนี้ ควรมีการตรวจเช็คมอเตอร์อย่างสม่ำเสมอพร้อมกับการทำ PM พื้นฐาน (เช่น การอัดจารบี) ซึ่งเรียกลักษณะดังกล่าวนี้รวม ๆ ว่า Predictive Maintenance ซึ่งจะช่วยให้ทราบประวัติของมอเตอร์ปั๊ม แนวโน้มของปัญหาที่จะเกิดขึ้น การวางแผนแก้ไขระยะยาว รวมทั้งการประหยัดด้านทุนของอะไหล่ และป้องกันการหยุดมอเตอร์โดยไม่จำเป็น

ขั้นตอนการบำรุงรักษา

1. ทำ Check list ของจุดที่ควรทำการเช็คและกำหนดชั่วโมงการเข้าตรวจเช็ค
2. เข้าตรวจเช็คตามชั่วโมงที่กำหนด
3. วิเคราะห์ดูแนวโน้มของข้อมูล
4. ทำการแก้ไขมอเตอร์ที่มีแนวโน้มทำงานบางอย่างไม่ได้ เช่น อุณหภูมิสูงขึ้น แล้วทำการตรวจเช็คอีกครั้ง

  • ขณะมอเตอร์ยังใช้งานอยู่ ควรเติมจารบีกรณีครบรอบหรือแบริ่งมีเสียงดัง และตรวจดูการระบายความร้อน มีอะไรขวางทางลมหรือการระบายอากาศหรือไม่
  • ขณะมอเตอร์หยุดนิ่ง ในกรณีไม่มีความเสียหายให้ทำการขันจุดต่อของไฟฟ้า และสภาพทั่วไปของเครื่องจักร
    กรณีเสียหายต้องถอดมอเตอร์มาทำการเปิดตรวจเช็คจุดต่าง ๆ

การพิจารณาดูค่าจากการตรวจเช็คต่าง ๆ ของมอเตอร์ไฟฟ้า

เราสามารถเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานได้ เช่น ค่าความสั่นสะเทือน (Vibration) ถ้าหากมีค่าสูงกว่ามาตรฐานอาจจะต้องมีการหยุดเครื่องจักร เพื่อตรวจเช็คละเอียดอีกครั้งว่ามีสาเหตุมาจากอะไร โดยสาเหตุของความสั่นสะเทือนอาจมาจากความผิดปกติต่าง ๆ ดังนี้

  • การตั้งศูนย์ (Alignment) ไม่ดี
  • โรเตอร์ของมอเตอร์เกิดไม่สมดุล (Unbalance)
  • เฟรมของมอเตอร์บิดเสียรูป
  • แท่งโรเตอร์บาร์ (กรณีมอเตอร์กระรอก) เกิดการแตกหัก
  • ขามอเตอร์ไม่ได้ระดับ (Soft foot)

ในกรณีที่มอเตอร์สกปรกมาก และต้องการล้างสิ่งสกปรกออก

ควรจะถอดแยกชิ้นส่วนของมอเตอร์ก่อน แล้วแยกล้างเป็นชิ้นส่วน เช่น Stator, Rotor อื่นๆ โดยการล้าง อาจจะใช้น้ำสะอาด สารละลายซึ่งไม่กัดกร่อนจำพวก Solvent ต่างๆ แล้วนำชิ้นส่วนเหล่านั้นมาอบให้แห้งสนิทก่อนจะทำการประกอบใหม่
หมายเหตุ หลังจากอบแห้งแล้วอาจนำ Stator หรือ Rotor ที่มีขดลวดมาทำการจุ่มวานิช เพื่อปิดจุดแตก (Crack) ของฉนวน ซึ่งเป็นการยืดอายุของฉนวน

การตรวจวัดการใช้พลังงานของมอเตอร์

สำหรับการตรวจวัดการใช้พลังงานของมอเตอร์ปั๊ม คุณสามารถบันทึกค่าที่จำเป็นต่าง ๆ ลงบนแบบฟอร์มตามด้านล่างนี้ หรือดัดแปลงได้ตามความเหมาะสม

ขอบคุณข้อมูลจาก: ตำราฝึกอบรมผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน(ผชพ) ด้านไฟฟ้า

หากธุรกิจใดต้องการติดตั้งปั๊มอุตสาหกรรม ไว้ใจ ASSA INTERNATIONAL ตัวแทนนำเข้าปั๊มอุตสาหกรรมจากแบรนด์ชั้นนำของญี่ปุ่นและอีกหลายประเทศทั่วโลก เราพร้อมสร้างความเชื่อมั่นด้วยบริการก่อนและหลังการขาย รวมถึงแนะนำวิธีการดูดและบำรุงรักษาปั๊ม เพื่อยืดอายุการใช้งาน และทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถดูแลการผลิตได้อย่างปลอดภัย

บริษัท แอสซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (สำนักงานใหญ่)
Hotline: 098-662-4587
Email: sales@assa.co.th
——-

บทความที่น่าสนใจ

ลดต้นทุนได้ใคร ๆ ก็ชอบ! แนะนำเคล็ดลับประหยัดพลังงานสำหรับปั๊มอุตสาหกรรมเคมี

เคล็ดลับการประหยัดพลังงาน และช่วยลดต้นทุนให้กับบริษัทที่ใช้ปั๊มอุตสาหกรรม เริ่มตั้งแต่การเลือกขนาด ไปจนถึงการเลือกซื้อปั๊มเคมีที่ประหยัดพลังงาน

Read More »
5 เหตุผล ทำไมต้องเลือกปั๊มเคมี World Chemicals

5 เหตุผล ทำไมต้องเลือกปั๊มเคมี World Chemicals

แบรนด์ปั๊มอุตสาหกรรม World Chemical ที่คุ้นหูกัน รู้ไหมมีดีอย่างไรทุกคนถึงไว้ใจเลือกใช้ วันนี้ ASSA จะมาเปิดเผย 5 เหตุผลทำไมต้องเลือกปั๊มเคมีจาก World Chemical

Read More »
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า